วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อบรม"หลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย"











เมื่อวันที่ 11-14 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน ได้แก่
ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้าร่วมการอบรม"หลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย" ตามโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งจัดโดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ณ S.D. AVENUE HOTEL BANGKOKโดยมีวิทยากรผู้บรรยายคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า นายนพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์และนายโชติช่วง ทัพวงศ์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลภาค 7 ลักษณะการอบรมจะเป็นการบรรยาย การซักถาม การฝึกปฏิบัติจากเหตุการณ์จำลอง และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยมีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้ ความขัดแย้ง แยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ความขัดแย้งด้านนโยบายสาธารณะ 2. ความขัดแย้งของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล วิธีการจัดการความขัดแย้งโดยทั่วไปแยกออกได้เป็นหลายรูปแบบแต่มี 2 ลักษณะใหญ่ คือ 1. ใช้ความรุนแรง 2. สันติวิธี แนวทางการจัดการความขัดแย้งให้ได้ "สันติภาพที่มั่นคงถาวร" คือ สันติวิธี และ สมานฉันท์ เครื่องมือสำคัญของแนวทางสันติวิธีที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดสมานฉันท์คือ การไกล่เกลี่ย ซึ่งมีผลให้ข้อพิพาทระงับได้ด้วย ความพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่เรียกว่า Win / Win การจัดการความขัดแย้งในกระบวนการยุติธรรมแยกออกได้เป็น 4 รูปแบบคือ 1. การเจรจาต่อรอง 2. การไกล่เกลี่ย 3. การให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด 4. การฟ้องคดีต่อศาล ไกล่เกลี่ย หมายถึง กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามซึ่งเป็นคนกลาง เข้าช่วยเหลือแนะนำคู่กรณีในการเจรจาต่อรอง การไกล่เกลี่ยเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ที่เรียกว่า "เป็นศาสตร์"เพราะไกล่เกลี่ยเป็นวิชาการที่มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และกระบวนการที่ต้องปฏิบัติ ที่เรียกว่า "เป็นศิลป์"เพราะเป็นการนำเอาความรู้ทางวิชาการมาปฏิบัติ โดยผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีเทคนิต และทักษะในการไกล่เกลี่ย เราจึงต้องเรียนรู้ทั้ง ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ แนวคิดหลักเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยในสถาบันการศึกษา เห็นว่า ควรให้ข้อพิพาทยุติในสถาบันการศึกษา โดยไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม และเน้นฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี เทคนิคการไกล่เกลี่ย 1. แก้ปัญหาที่ต้นตอความขัดแย้งและแนวทางการเจรจา 2. การปัญหาโดยเน้นความต้องการแท้จริง (Interest-based Mediation) เพื่อให้เกิดผล ชนะ-ชนะ ความขัดแย้งมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ คน และ ปัญหา การแก้ปัญหาโดยเน้นความต้องการแท้จริง เพื่อให้เกิดผล ชนะ-ชนะ คือ ต้องแก้ปัญหาที่คนก่อน แล้วจึงแก้ที่ตัวปัญหา หลักการคือ
ทำให้คู่กรณีเป็นมิตรกันก่อน เมื่อเป็นมิตรแล้วจึงร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา โดยมองไปที่ประโยชน์ในอนาคต การประชุมไกล่เกลี่ย แยกเป็นขั้นตอนปฏิบัติได้อย่างกว้าง ๆ คือ 1. ก่อนประชุมไกล่เกลี่ย 2. เริ่มประชุมไกล่เกลี่ย 3. ระหว่างประชุมไกล่เกลี่ย








ไม่มีความคิดเห็น: