วันเสาร์ที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

การอบรมหลักสูตร"วิทยากรการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี"

เมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน
ได้แก่ ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้ารับการอบรมลักสูตรวิทยากรการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ณ โรงแรม เอส ดี เวนิว กรุงเทพฯ ซึ่งโดย สำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีวิทยากรผู้ให้การอบรมได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วันชัย
วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล
สถาบันพระปกเกล้าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนพพร
โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
อาจารย์รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์ และ อาจารย์นุชนารถ
วัฒนศัพท์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในพิธีปิดการอบรม
ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์
สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มามอบใบเกียรติบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรมและกล่าวปิดการอบรมตาม โครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม
ในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถานศึกษา






































































การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำหลักสูตรและคู่มือ

เมื่อวันที่ 18-19 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน
ได้แก่ ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำหลักสูตรและคู่มือการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา ณ โรงแรม เอส ดี เวนิว กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดย สำนักสันติวิธีและธรรมา
ภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ






วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อบรม"หลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย"











เมื่อวันที่ 11-14 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน ได้แก่
ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้าร่วมการอบรม"หลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย" ตามโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งจัดโดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ณ S.D. AVENUE HOTEL BANGKOKโดยมีวิทยากรผู้บรรยายคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า นายนพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์และนายโชติช่วง ทัพวงศ์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลภาค 7 ลักษณะการอบรมจะเป็นการบรรยาย การซักถาม การฝึกปฏิบัติจากเหตุการณ์จำลอง และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยมีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้ ความขัดแย้ง แยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ความขัดแย้งด้านนโยบายสาธารณะ 2. ความขัดแย้งของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล วิธีการจัดการความขัดแย้งโดยทั่วไปแยกออกได้เป็นหลายรูปแบบแต่มี 2 ลักษณะใหญ่ คือ 1. ใช้ความรุนแรง 2. สันติวิธี แนวทางการจัดการความขัดแย้งให้ได้ "สันติภาพที่มั่นคงถาวร" คือ สันติวิธี และ สมานฉันท์ เครื่องมือสำคัญของแนวทางสันติวิธีที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดสมานฉันท์คือ การไกล่เกลี่ย ซึ่งมีผลให้ข้อพิพาทระงับได้ด้วย ความพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่เรียกว่า Win / Win การจัดการความขัดแย้งในกระบวนการยุติธรรมแยกออกได้เป็น 4 รูปแบบคือ 1. การเจรจาต่อรอง 2. การไกล่เกลี่ย 3. การให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด 4. การฟ้องคดีต่อศาล ไกล่เกลี่ย หมายถึง กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามซึ่งเป็นคนกลาง เข้าช่วยเหลือแนะนำคู่กรณีในการเจรจาต่อรอง การไกล่เกลี่ยเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ที่เรียกว่า "เป็นศาสตร์"เพราะไกล่เกลี่ยเป็นวิชาการที่มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และกระบวนการที่ต้องปฏิบัติ ที่เรียกว่า "เป็นศิลป์"เพราะเป็นการนำเอาความรู้ทางวิชาการมาปฏิบัติ โดยผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีเทคนิต และทักษะในการไกล่เกลี่ย เราจึงต้องเรียนรู้ทั้ง ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ แนวคิดหลักเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยในสถาบันการศึกษา เห็นว่า ควรให้ข้อพิพาทยุติในสถาบันการศึกษา โดยไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม และเน้นฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี เทคนิคการไกล่เกลี่ย 1. แก้ปัญหาที่ต้นตอความขัดแย้งและแนวทางการเจรจา 2. การปัญหาโดยเน้นความต้องการแท้จริง (Interest-based Mediation) เพื่อให้เกิดผล ชนะ-ชนะ ความขัดแย้งมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ คน และ ปัญหา การแก้ปัญหาโดยเน้นความต้องการแท้จริง เพื่อให้เกิดผล ชนะ-ชนะ คือ ต้องแก้ปัญหาที่คนก่อน แล้วจึงแก้ที่ตัวปัญหา หลักการคือ
ทำให้คู่กรณีเป็นมิตรกันก่อน เมื่อเป็นมิตรแล้วจึงร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา โดยมองไปที่ประโยชน์ในอนาคต การประชุมไกล่เกลี่ย แยกเป็นขั้นตอนปฏิบัติได้อย่างกว้าง ๆ คือ 1. ก่อนประชุมไกล่เกลี่ย 2. เริ่มประชุมไกล่เกลี่ย 3. ระหว่างประชุมไกล่เกลี่ย