เมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน
ได้แก่ ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิทยากรการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ณ โรงแรม เอส ดี เวนิว กรุงเทพฯ ซึ่งโดย สำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีวิทยากรผู้ให้การอบรมได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วันชัย
วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล
สถาบันพระปกเกล้าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนพพร
โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
อาจารย์รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์ และ อาจารย์นุชนารถ
วัฒนศัพท์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในพิธีปิดการอบรม
ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์
สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มามอบใบเกียรติบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรมและกล่าวปิดการอบรมตาม โครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม
ในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถานศึกษา
วันเสาร์ที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำหลักสูตรและคู่มือ
เมื่อวันที่ 18-19 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน
ได้แก่ ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำหลักสูตรและคู่มือการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา ณ โรงแรม เอส ดี เวนิว กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดย สำนักสันติวิธีและธรรมา
ภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ได้แก่ ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำหลักสูตรและคู่มือการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา ณ โรงแรม เอส ดี เวนิว กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดย สำนักสันติวิธีและธรรมา
ภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
อบรม"หลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย"
เมื่อวันที่ 11-14 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน ได้แก่
ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้าร่วมการอบรม"หลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ย" ตามโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งจัดโดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ณ S.D. AVENUE HOTEL BANGKOKโดยมีวิทยากรผู้บรรยายคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า นายนพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์และนายโชติช่วง ทัพวงศ์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลภาค 7 ลักษณะการอบรมจะเป็นการบรรยาย การซักถาม การฝึกปฏิบัติจากเหตุการณ์จำลอง และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยมีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้ ความขัดแย้ง แยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ความขัดแย้งด้านนโยบายสาธารณะ 2. ความขัดแย้งของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล วิธีการจัดการความขัดแย้งโดยทั่วไปแยกออกได้เป็นหลายรูปแบบแต่มี 2 ลักษณะใหญ่ คือ 1. ใช้ความรุนแรง 2. สันติวิธี แนวทางการจัดการความขัดแย้งให้ได้ "สันติภาพที่มั่นคงถาวร" คือ สันติวิธี และ สมานฉันท์ เครื่องมือสำคัญของแนวทางสันติวิธีที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดสมานฉันท์คือ การไกล่เกลี่ย ซึ่งมีผลให้ข้อพิพาทระงับได้ด้วย ความพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่เรียกว่า Win / Win การจัดการความขัดแย้งในกระบวนการยุติธรรมแยกออกได้เป็น 4 รูปแบบคือ 1. การเจรจาต่อรอง 2. การไกล่เกลี่ย 3. การให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด 4. การฟ้องคดีต่อศาล ไกล่เกลี่ย หมายถึง กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามซึ่งเป็นคนกลาง เข้าช่วยเหลือแนะนำคู่กรณีในการเจรจาต่อรอง การไกล่เกลี่ยเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ที่เรียกว่า "เป็นศาสตร์"เพราะไกล่เกลี่ยเป็นวิชาการที่มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และกระบวนการที่ต้องปฏิบัติ ที่เรียกว่า "เป็นศิลป์"เพราะเป็นการนำเอาความรู้ทางวิชาการมาปฏิบัติ โดยผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีเทคนิต และทักษะในการไกล่เกลี่ย เราจึงต้องเรียนรู้ทั้ง ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ แนวคิดหลักเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยในสถาบันการศึกษา เห็นว่า ควรให้ข้อพิพาทยุติในสถาบันการศึกษา โดยไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม และเน้นฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี เทคนิคการไกล่เกลี่ย 1. แก้ปัญหาที่ต้นตอความขัดแย้งและแนวทางการเจรจา 2. การปัญหาโดยเน้นความต้องการแท้จริง (Interest-based Mediation) เพื่อให้เกิดผล ชนะ-ชนะ ความขัดแย้งมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ คน และ ปัญหา การแก้ปัญหาโดยเน้นความต้องการแท้จริง เพื่อให้เกิดผล ชนะ-ชนะ คือ ต้องแก้ปัญหาที่คนก่อน แล้วจึงแก้ที่ตัวปัญหา หลักการคือ
ทำให้คู่กรณีเป็นมิตรกันก่อน เมื่อเป็นมิตรแล้วจึงร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา โดยมองไปที่ประโยชน์ในอนาคต การประชุมไกล่เกลี่ย แยกเป็นขั้นตอนปฏิบัติได้อย่างกว้าง ๆ คือ 1. ก่อนประชุมไกล่เกลี่ย 2. เริ่มประชุมไกล่เกลี่ย 3. ระหว่างประชุมไกล่เกลี่ย
วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
การเข้าร่วมประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา
เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2550 มีคณะครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน ได้แก่ คุณครูบุญสม อะละมาลา คุณครูนิคม
เรืองกูล และคุณครูเจตนา ศิริมงคล ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา กลุ่มย่อยในหัวข้อ
"การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา"
ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้อง MEETING ROOM
11 แกรนด์ไดมอนด์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีสาระการประชุมย่อดังนี้
> เด็กในยุคปัจจุบันจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้า มีความโกรธ ความไม่รักษาระเบียบวินัย มึความกระวนกระวายใจ กังวลใจ มึความหุนหันพลันแล่น และ ก้าวร้าวมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
> ถ้าเราปล่อยให้การศึกษาทางด้านอารมณ์ให้เป็นไปตามแต่โอกาสจะอำนวย ก็จะทำให้เกิด ผลเสียหายที่ใหญ่หลวง
> การแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนในอดีตเมื่อนักเรียนทำความผิด การแก้ไขพฤติกรรมใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือน ควบคุมโดยการดุ ตำหนิ ขู่ลงโทษทางกาย(การตี)ภาคทัณฑ์ หรือสั่งให้ ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง > พฤติกรรมของครูที่นักเรียนไม่ชอบคือ การพูด หยาบคาย ตี หัวเราะเยาะ จุกจิกจู้จี้ ตบหัว ไล่ออกจากห้องเรียน ไม่เก็บความลับของนักเรียน โมโหคนอื่นแล้วมาพาลกับนักเรียน การล้อ เลียนให้ได้อาย ไม่ฟังเหตุผลคำอธิบาย ด่าถึงพ่อแม่บรรพบุรุษ พฤติกรรมทางลบของครูเหล่านี้ ยิ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี กับครู กับการเรียน และกับโรงเรียน
> เด็กจะทำอะไร ได้ดีเมื่อเขามีความรู้สึกที่ดี
> เด็กที่มีปัญหาเรื่องความประพฤติ คือเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นและให้กำลังใจ ดังนั้นการกระ ตุ้นและให้กำลังใจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะจัดการกับเด็กที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรม นั่นคือ การจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก
> ยุทธศาสตร์ในการเสริมพลังทางบวก ถ้าผู้มองมีบวกอยู่ในใจมาก ภาพที่ตนเองมองเห็นก็จะเป็นภาพบวก ทั้งเข้มและชัดเจน อันจะทำให้พฤติกรรมทางบวก คือความดีงาม ถ้าปฏิบัติแล้วให้ผลตอบสนองความต้องการ เกิดความสุข ความพอใจ ตัวเราก็จะรับวิธีการนั้นเป็นค่านิยม และยึดเป็นเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติต่อไป
เรืองกูล และคุณครูเจตนา ศิริมงคล ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา กลุ่มย่อยในหัวข้อ
"การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา"
ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้อง MEETING ROOM
11 แกรนด์ไดมอนด์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีสาระการประชุมย่อดังนี้
> เด็กในยุคปัจจุบันจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้า มีความโกรธ ความไม่รักษาระเบียบวินัย มึความกระวนกระวายใจ กังวลใจ มึความหุนหันพลันแล่น และ ก้าวร้าวมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
> ถ้าเราปล่อยให้การศึกษาทางด้านอารมณ์ให้เป็นไปตามแต่โอกาสจะอำนวย ก็จะทำให้เกิด ผลเสียหายที่ใหญ่หลวง
> การแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนในอดีตเมื่อนักเรียนทำความผิด การแก้ไขพฤติกรรมใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือน ควบคุมโดยการดุ ตำหนิ ขู่ลงโทษทางกาย(การตี)ภาคทัณฑ์ หรือสั่งให้ ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง > พฤติกรรมของครูที่นักเรียนไม่ชอบคือ การพูด หยาบคาย ตี หัวเราะเยาะ จุกจิกจู้จี้ ตบหัว ไล่ออกจากห้องเรียน ไม่เก็บความลับของนักเรียน โมโหคนอื่นแล้วมาพาลกับนักเรียน การล้อ เลียนให้ได้อาย ไม่ฟังเหตุผลคำอธิบาย ด่าถึงพ่อแม่บรรพบุรุษ พฤติกรรมทางลบของครูเหล่านี้ ยิ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี กับครู กับการเรียน และกับโรงเรียน
> เด็กจะทำอะไร ได้ดีเมื่อเขามีความรู้สึกที่ดี
> เด็กที่มีปัญหาเรื่องความประพฤติ คือเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นและให้กำลังใจ ดังนั้นการกระ ตุ้นและให้กำลังใจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะจัดการกับเด็กที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรม นั่นคือ การจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก
> ยุทธศาสตร์ในการเสริมพลังทางบวก ถ้าผู้มองมีบวกอยู่ในใจมาก ภาพที่ตนเองมองเห็นก็จะเป็นภาพบวก ทั้งเข้มและชัดเจน อันจะทำให้พฤติกรรมทางบวก คือความดีงาม ถ้าปฏิบัติแล้วให้ผลตอบสนองความต้องการ เกิดความสุข ความพอใจ ตัวเราก็จะรับวิธีการนั้นเป็นค่านิยม และยึดเป็นเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติต่อไป
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา
เมื่อวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2550 มีครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน ได้แก่ คุณครูบุญสม อะละมาลา คุณครูนิคม เรืองกูล และคุณครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้ไปเข้า
รับการอบรมตามโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม 80 สถานศึกษา ของสำนักงานเลขาธิการสภาการ
ศึกษา และสำนักสันติวิธีธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้จัดการอบรมสัมมนา ณ โรงแรมบางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสูตร"แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความ
ขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา" โดยสรุปผลการอบรมสัมมนาดังนี้
การเจรจาไกล่เกลี่ย(Negotiation) คือ กระบวนการแก้ปัญหาระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ซึ่งสมัครใจมาเจรจาในเรื่องของความแตกต่างเพื่อพยายามที่จะนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันในประเด็น
ที่มีความกังวลด้วยกัน
การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง(Mediation) คือ การเจรจาไกล่เกลี่ยที่อาศัยบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่เป็นกลาง
> การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ควรใช้ความนุ่มนวลหรือ"สันติวิธี"
> การสื่อสารเป็นปัจจัยพื้นฐานในการป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้ง
> การจัดการความขัดแย้งควรเน้นที่ "กระบวนการ" ต้องวิเคราะห์ ประเมินและค้นหาวิธีการที่
เหมาะสม เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิด จึงไม่ควรด่วนสรุป
> การจัดการความขัดแย้ง ต้องสร้างความไว้วางใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่าย
> การจัดการและแก้ปัญหาความขัดแย้ง บางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลา"อย่ารีบร้อน" ร่วมมือกันทำ
> กฏ กติกา หรือข้อจำกัดในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง อาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา
ความขัดแย้ง ควรหาทางออกร่วมกัน หรือมองนอกกรอบ
"การเปลี่ยนแปลงเป็นวิกฤตสำหรับคนไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่เป็นโอกาสสำหรับคนที่เตรียมตัวไว้แล้ว"
"AN EYE FOR AN EYE AND WE ALL GO BLIND" > ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ผันทุกคนสู่ความพ่ายแพ้
"การแก้ปัญหาร่วมกัน แยกคนออกจากปัญหา นุ่มนวลในประเด็นเรื่องของคน แต่แข็งในประเด็นของปัญหา"
รับการอบรมตามโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม 80 สถานศึกษา ของสำนักงานเลขาธิการสภาการ
ศึกษา และสำนักสันติวิธีธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้จัดการอบรมสัมมนา ณ โรงแรมบางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสูตร"แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความ
ขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา" โดยสรุปผลการอบรมสัมมนาดังนี้
การเจรจาไกล่เกลี่ย(Negotiation) คือ กระบวนการแก้ปัญหาระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ซึ่งสมัครใจมาเจรจาในเรื่องของความแตกต่างเพื่อพยายามที่จะนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันในประเด็น
ที่มีความกังวลด้วยกัน
การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง(Mediation) คือ การเจรจาไกล่เกลี่ยที่อาศัยบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่เป็นกลาง
> การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ควรใช้ความนุ่มนวลหรือ"สันติวิธี"
> การสื่อสารเป็นปัจจัยพื้นฐานในการป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้ง
> การจัดการความขัดแย้งควรเน้นที่ "กระบวนการ" ต้องวิเคราะห์ ประเมินและค้นหาวิธีการที่
เหมาะสม เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิด จึงไม่ควรด่วนสรุป
> การจัดการความขัดแย้ง ต้องสร้างความไว้วางใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่าย
> การจัดการและแก้ปัญหาความขัดแย้ง บางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลา"อย่ารีบร้อน" ร่วมมือกันทำ
> กฏ กติกา หรือข้อจำกัดในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง อาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา
ความขัดแย้ง ควรหาทางออกร่วมกัน หรือมองนอกกรอบ
"การเปลี่ยนแปลงเป็นวิกฤตสำหรับคนไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่เป็นโอกาสสำหรับคนที่เตรียมตัวไว้แล้ว"
"AN EYE FOR AN EYE AND WE ALL GO BLIND" > ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ผันทุกคนสู่ความพ่ายแพ้
"การแก้ปัญหาร่วมกัน แยกคนออกจากปัญหา นุ่มนวลในประเด็นเรื่องของคน แต่แข็งในประเด็นของปัญหา"
วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
กรอบแนวคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม พัฒนา การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา
ให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิต
ที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิตและรอดพ้นจากวิกฤตทั้งปวง
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน
อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากร
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา อันได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน
ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทำงาน
ที่ตรวจสอบได้
กระบวนการดำเนินงาน มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. การคัดกรองนักเรียน
3. การส่งเสริมพัฒนานักเรียน
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
5. การส่งต่อ
*แต่ละองค์ประกอบของระบบมีความสำคัญ มีวิธีการและเครื่องมือต่างกันไป แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งเอื้อให้การดูแลนักเรียนเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ
* ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจึงเป็นระบบที่มีมาตรฐานสามารถ
ดำเนินการเพื่อการประกันคุณภาพได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)