วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

การเข้าร่วมประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา

เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2550 มีคณะครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน ได้แก่ คุณครูบุญสม อะละมาลา คุณครูนิคม

เรืองกูล และคุณครูเจตนา ศิริมงคล ได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาคุณภาพการศึกษา กลุ่มย่อยในหัวข้อ

"การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา"

ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้อง MEETING ROOM

11 แกรนด์ไดมอนด์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีสาระการประชุมย่อดังนี้

> เด็กในยุคปัจจุบันจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้า มีความโกรธ ความไม่รักษาระเบียบวินัย มึความกระวนกระวายใจ กังวลใจ มึความหุนหันพลันแล่น และ ก้าวร้าวมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
> ถ้าเราปล่อยให้การศึกษาทางด้านอารมณ์ให้เป็นไปตามแต่โอกาสจะอำนวย ก็จะทำให้เกิด ผลเสียหายที่ใหญ่หลวง
> การแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนในอดีตเมื่อนักเรียนทำความผิด การแก้ไขพฤติกรรมใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือน ควบคุมโดยการดุ ตำหนิ ขู่ลงโทษทางกาย(การตี)ภาคทัณฑ์ หรือสั่งให้ ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง > พฤติกรรมของครูที่นักเรียนไม่ชอบคือ การพูด หยาบคาย ตี หัวเราะเยาะ จุกจิกจู้จี้ ตบหัว ไล่ออกจากห้องเรียน ไม่เก็บความลับของนักเรียน โมโหคนอื่นแล้วมาพาลกับนักเรียน การล้อ เลียนให้ได้อาย ไม่ฟังเหตุผลคำอธิบาย ด่าถึงพ่อแม่บรรพบุรุษ พฤติกรรมทางลบของครูเหล่านี้ ยิ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี กับครู กับการเรียน และกับโรงเรียน
> เด็กจะทำอะไร ได้ดีเมื่อเขามีความรู้สึกที่ดี
> เด็กที่มีปัญหาเรื่องความประพฤติ คือเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นและให้กำลังใจ ดังนั้นการกระ ตุ้นและให้กำลังใจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะจัดการกับเด็กที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรม นั่นคือ การจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก
> ยุทธศาสตร์ในการเสริมพลังทางบวก ถ้าผู้มองมีบวกอยู่ในใจมาก ภาพที่ตนเองมองเห็นก็จะเป็นภาพบวก ทั้งเข้มและชัดเจน อันจะทำให้พฤติกรรมทางบวก คือความดีงาม ถ้าปฏิบัติแล้วให้ผลตอบสนองความต้องการ เกิดความสุข ความพอใจ ตัวเราก็จะรับวิธีการนั้นเป็นค่านิยม และยึดเป็นเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติต่อไป


























แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา

เมื่อวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2550 มีครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คน ได้แก่ คุณครูบุญสม อะละมาลา คุณครูนิคม เรืองกูล และคุณครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้ไปเข้า
รับการอบรมตามโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม 80 สถานศึกษา ของสำนักงานเลขาธิการสภาการ
ศึกษา และสำนักสันติวิธีธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้จัดการอบรมสัมมนา ณ โรงแรมบางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสูตร"แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความ
ขัดแย้งด้วยสันติวิธีในสถานศึกษา" โดยสรุปผลการอบรมสัมมนาดังนี้
การเจรจาไกล่เกลี่ย(Negotiation) คือ กระบวนการแก้ปัญหาระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ซึ่งสมัครใจมาเจรจาในเรื่องของความแตกต่างเพื่อพยายามที่จะนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันในประเด็น
ที่มีความกังวลด้วยกัน
การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง(Mediation) คือ การเจรจาไกล่เกลี่ยที่อาศัยบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่เป็นกลาง
> การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ควรใช้ความนุ่มนวลหรือ"สันติวิธี"
> การสื่อสารเป็นปัจจัยพื้นฐานในการป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้ง
> การจัดการความขัดแย้งควรเน้นที่ "กระบวนการ" ต้องวิเคราะห์ ประเมินและค้นหาวิธีการที่
เหมาะสม เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิด จึงไม่ควรด่วนสรุป
> การจัดการความขัดแย้ง ต้องสร้างความไว้วางใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่าย
> การจัดการและแก้ปัญหาความขัดแย้ง บางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลา"อย่ารีบร้อน" ร่วมมือกันทำ
> กฏ กติกา หรือข้อจำกัดในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง อาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา
ความขัดแย้ง ควรหาทางออกร่วมกัน หรือมองนอกกรอบ
"การเปลี่ยนแปลงเป็นวิกฤตสำหรับคนไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่เป็นโอกาสสำหรับคนที่เตรียมตัวไว้แล้ว"
"AN EYE FOR AN EYE AND WE ALL GO BLIND" > ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ผันทุกคนสู่ความพ่ายแพ้
"การแก้ปัญหาร่วมกัน แยกคนออกจากปัญหา นุ่มนวลในประเด็นเรื่องของคน แต่แข็งในประเด็นของปัญหา"